วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมที่1

นิยาม ความหมาย : ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ทฤษฎี คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบาย
ข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนท านายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง
และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์
(Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น หรือ คือกลุ่มความสัมพันธ์ของ
แนวคิดค านิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น
ทฤษฏีหลักสูตร หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตร โดยชี้ให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆชี้น าแนวทางการพัฒนาใช้และการประเมินผล หลักสูตร
ประกอบกัน แมคเซีย (Maccia ) ได้สร้างทฤษฎีหลักสูตรขึ้น 4 ทฤษฏี
1. ทฤษฎีแม่บท ( Formal Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ
กฎเกณฑ์ทั่วๆไปตลอดถึงโครงสร้างของหลักสูตร
2. ทฤษฎีเนื้อหา ( Curriculum Reality Theory ) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหาและกล่าวถึง
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3. ทฤษฎีจุดประสงค์ ( Volitional Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์
หรือความมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าวัตถุประสงค์นั้นได้มาอย่างไร
4. วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไรในการสร้างทฤษฎีหลักสูตร เคอร์ (Kerr) กล่าวว่ามีวิธีการสร้าง
อยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ วิธีอนุมาน ( Deductive Approach )และวิธีอุปมาน
1. วิธีอนุมาน เป็นวิธีที่อาศัยความรู้จากศาสตร์อื่นมารวมกันเพื่อสร้างทฤษฎีขึ้นใช้
วิธีการน าเอาสิ่งกับสมมติฐานและกฎเกณฑ์ในศาสตร์อื่นมา แล้วน าเอาศัพท์ทางการศึกษาใช้แทนลงไป
เช่น ทฤษฎีแมคเซีย เป็นต้น

2. วิธีอุปมาน เป็นการรวมเอาทฤษฎีนี้บ้างมาผสมกันอาศัยข้อมูลที่สังเกตได้เป็น
เครื่องชี้น าต่อไปก็ตั้งสมมติฐานและกฎเกณฑ์ที่จ าเป็นในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรขึ้น
ความหมายต่างๆของหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตรจ าเป็นต้องอาศัยความเชื่อและทฤษฎีต่างๆ
ทางการศึกษา ซึ่งมีนักการศึกษาได้ก าหนดไว้หลายแนวดังนี้
1. หลักสูตรเป็นวิชาและเนื้อหาวิชา ผู้มองหลักสูตรในแนวนี้คือ ผู้ที่ยึดลัทธิสัจนิยม
(Perennialism ) และสาระนิยม
( Essentialism ) ตลอดจนผู้ที่ถือว่าการศึกษาคือการฝึกวินัยทางจิต ( Mental Discipline ) ซึ่งเห็น
ว่าหลักสูตรในโรงเรียนควรประกอบด้วยวิชาที่ส าคัญที่จะธ ารงไว้ซึ่งคุณลักษณะแห่งความเป็นมนุษย์
และเป็นการฝึกสมองเช่น วิชาที่ยากๆโดยเฉพาะการศึกษาโครงสร้างของวิชาต่างๆ ที่จัดเป็นหมวดหมู่
อย่างชัดเจนเช่น โครงสร้างของวิชาคณิตศาสตร์เป็นตรรกศาสตร์โดยเฉพาะการหาเหตุผลแบบอนุมาน
ข้อสังเกตส าหรับการก าหนดหลักสูตรในแนวนี้คือ ไม่ได้ให้ความสนใจและความส าคัญในผู้เรียน (ซึ่ง
องค์ประกอบส าคัญในการพัฒนาหลักสูตร)
2. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ ยึดลัทธิก้าวหน้านิยม (Progressivism) โดยเชื่อว่าวัฒนธรรม
คือ สิ่งแวดล้อมของสังคม คนจะต้องยอมรับสภาพของสังคม และปรับสภาพของสังคมให้ดีขึ้น จึงยึด
หลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางโดยดูความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักในการสอนและการจัดประสบการณ์
ให้เขา หลักสูตรจึงหมายถึงประสบการณ์ทั้งมวลที่นักเรียนจะพึ่งได้รับภายใต้การน าของครู
3. หลักสูตรเป็นจุดประสงค์ ถือว่าการสอนเป็นหนทางอย่างหนึ่งที่จะน าไปสู่จุดประสงค์ที่
ก าหนด
4. หลักสูตรเป็นแผนการ หลักสูตรคือแผนการที่จะน าไปสู่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดจากความ
ตั้งใจและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเพ่งเล็งไปที่จุดมุ่งหมายของการศึกษา รวมถึงการจัดวางหลักสูตร
ไปใช้ในด้านการปฏิบัติคือ การสอนและการประเมินผลหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น

5. หลักสูตรเป็นระบบการผลิต มองการให้การศึกษาเช่นเดียวกับระบบการผลิตสินค้าโดย
ค านึงถึงทุนที่ได้ลงไปกับผลที่ตามออกมา จึงพยายามท าหลักสูตรให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเช่น เขียนใน
รูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์กิจกรรม ดังเช่น หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา
พ.ศ.2521
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ
แบบจ าลองการพัฒนาหลักสูตร
“โอลิวา” เป็นคนแรกที่ใช้ค าว่าแบบจ าลอง (Model) ในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะมีการ
ก าหนดกรอบแนวคิดและเกณฑ์ที่ใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร โดยที่แบบจ าลองนั้นจะแสดง
องค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1. องค์ประกอบหลักของกระบวนการ
2. การปฏิบัติที่ชัดเจน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการสอน
4. จุดหมายเฉพาะที่แตกต่างระหว่างหลักสูตรและการสอน
5. การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
6. วัฎจักรความสัมพันธ์ต้องไม่แสดงแต่เพียงนัยล าดับขั้นตอน
7. มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ
8. จุดเริ่มต้นสามารถเริ่มที่ต าแหน่งใดก็ได้ในวงจร
9. ความเป็นเหตุเป็นผลและความแน่นอนภายในแบบจ าลอง
10. ให้ความคิดที่เรียบง่าย
11. มีองค์ประกอบแสดงความสัมพันธ์ในรูปแบบไดอะแกรมหรือแผนภาพ

แบบจ าลองของไทเลอร์
ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้ค าแนะน าว่า ในการก าหนดวัตถุประสงค์
ทั่วไปของหลักสูตรท าได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย
1. ข้อมูลผู้เรียน
2. ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
3. ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
น าข้อมูลจาก 3 แหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยง เพื่อน าข้อมูลไปก าหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้การพิจารณา
โครงสร้างหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler, 1949 :53) ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่
มุ่งให้ความส าคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการด าเนินชีวิต ใช้
การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้น าทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มา
เป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น 1. ความจ าและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของ
การเป็นมนุษย์ ไม่จ ากัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาส าคัญมากกว่าที่จะ
ขึ้นอยู่กับอ านาจรัฐหรือผู้มีอ านาจ
นิยาม “ประสบการณ์การเรียนรู้” ของไทเลอร์
ไทเลอร์ให้นิยาม “ประสบการณ์การเรียนรู้” ว่าหมายถึง “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับ
เงื่อนไขปัจจัยภายนอกที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบได้ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ 4 ประการ
คือ

1. พัฒนาทักษะในการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
แบบจ าลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
บาทามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการ
สร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร มี 7 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจ าเป็น
ขั้นที่ 2 การก าหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
แบบจ าลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
จะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้

1.คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มา
ก าหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2.ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดย
ปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้
ก าหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ท า
บันทึก ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษาน าร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
4.อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5.ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4 ประการ คือ
5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดท าวัสดุ สื่อการสอน
5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3 การสอน ผู้สอนประจ าการ ท าหน้าที่ด าเนินการสอน
5.4 การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วน าไปแก้ไข
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจ าลอง SU Model
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดท าหลักสูดร
(สามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนา
หลักสูตรของไทเลอร์ค าถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อ
น าไปวางแผ่นหลักสูตร ก าหนดจุดหมายหลักสูตร
2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Curriculum Design) น าจุดหมายและจุดมุ่งหมาย
ของหลักสูตรมาจัดท ากรอบการปฏิบัติ ม่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร

สอดคล้องกับค าถามที่สองของไทเลอร์คือมีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุ
จุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนอง
จุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) จัดหลักสูตรเพื่อ
ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับค าถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้
อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่
สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และรวมถึงการนิเทศการศึกษา
4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและ
ผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องค าถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของ
ประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
พื้นฐานแนวคิด SU Model มาจากการพัฒนาสามเหลี่ยมมุมบน มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน
คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการ
ฝึกหัดให้มีร่างกายสมบูรณ์ เมื่อน ามาใช้จะได้ว่า เป้าหมายหมายของสูตรจะมุ่งเน้นให้เกิด ความรู้
(knowledge) พัฒนาผู้เรียน (leader) และสังคม (society) มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนที่ “เก่ง ดี มี
สุข” การพัฒนาหลักสูตรจะประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้าน
สังคม มีการพัฒนาหลักสูตรจากรูปสามเหลี่ยมไปสู่การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การ
น าหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร ดังภาพ SU Model มีขั้นตอนดังนี้
1.เริ่มจากวงกลม หมายถึง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า หมายถึง
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2.ระบุพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ในพื้นที่วงกลมซึ่งมีพื้นฐานหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
หลักสูตร ระบุพื้นฐาน 3 ด้าน (ปรัชญา จิตวิทยา สังคม) ลงในช่องว่างนอกรูปโดยก าหนดให้ด้าน
สามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานส าคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่าง

ผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานส าคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยม
ระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานส าคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
3.พื้นฐานด้านปรัชญา ได้แนวคิดว่าการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น
ความรู้ มาจากพื้นฐานสามรัตถนิยมกับปรัชญานิรันตรนิยม การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายของ
หลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน มาจากพื้นฐานปรัชญาอัตถิภาวะนิวม และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมาย
ของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม มาจากพื้นฐานปรัชญาปฏิรูปนิยม
4.ก าหนดจุดกึ่งกลางของด้านสามเหลี่ยมทั้งสามด้าน เพื่อแทนความหมายว่าในการพัฒนา
หลักสูตรต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานด้านปรัชญา จิตวิทยา และสังคม
5.พิจารณากระบวนการพัฒนาหลักสูตร น าแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมาก าหนดชื่อ
สามเหลี่ยมเล็กๆทั้งสี่รูป ได้แก การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดหลักสูตร และการ
ประเมินหลักสูตร
หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญมีพื้นฐานที่ส าคัญจากปรัชญาพิพัฒนาการ ที่มีความเชื่อว่า
สาระส าคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นไม่ได้หยุดนิ่ง ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้อง
พยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น